ผลิตภัณฑ์ชุมชน

      “กุลญาเบญจรงค์ 1999” เป็นกลุ่มผู้ผลิตเบญจรงค์ ที่อยู่ หมู่ที่ 5 บ้านรางขโมย ตำบล องครักษ์ อำเภอ บางปลาม้า จังหวัด สุพรรณบุรี

          ประวัติความเป็นมา : เนื่องจากพื้นที่บ้านรางขโมยหมู่ ๕ ตำบล องครักษ์ เป็นพื้นที่น้ำท่วมทำให้เยาวชนว่างงานหลังจากการเกี่ยวข้าวจึงเป็นจุดเริ่มของการพูดคุยกับเยาวชนที่เคยผ่านงานด้านเขียนลายเบญจรงค์ประมาณ ๕ คนมาเริ่มฝึกกันใหม่หลังจากคล่องมือจึงเริ่มงานจากโรงงานมาทำหลังจากนั้นมีลูกค้าเข้ามาสั่งสินค้าโดยตรงจึงเริ่มพัฒนาและขยายที่ทำงานตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบันมีสมาชิก ๑๘ คน เตาอบเบญจรงค์ ๔ ใบ โรงเรือนและห้องจำหน่ายสินค้า ๒ หลัง

          จุดเด่นของผลิตภัณท์

          – ประยุกต์รูปทรงให้เข้ากับการใช้งาน

          – ไม่มีสารตกค้าง (ผลการรับรองอุตสาหกรรม)

          – กระบวนการผลิต

          – วัตถุดิบและส่วนประกอบ

        เครื่องขาว หรือของขาว ที่นำมาผลิตเป็นเครื่องเบญจรงค์ เครื่องขาว หรือของขาว จะเป็นภาชนะรูปทรงต่างๆ มีสีขาว อาทิเช่น โถประดับ จาน ชาม แก้วน้ำ หม้อข้าว ขันข้าว แจกัน ชุดน้ำชา และกาแฟ เป็นต้น ลักษณะการเคลือบของของขาวนั้นมี 2 ลักษณะ คือ เคลือบเงา และเคลือบด้าน ซึ่งเมื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องเบญจรงค์แล้ว จะให้ความสวยงามที่แตกต่างกันไป เครื่องขาว หรือของขาวนี้ สามารถซื้อได้จากโรงงานในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี ราคารับซื้อขึ้นอยู่กับแบบ และขนาดของเครื่องขาวที่ใช้ วัตถุดิบ และเนื้อดินที่ใช้ในการผลิตเครื่องขาวเพื่อทำเครื่องเบญจรงค์ วัตถุดิบมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิต ในการตอบสนองให้งานที่ผลิตขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิต รวมทั้งมีประสิทธิภาพสูง ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ในเรื่องของวัตถุดิบที่นำมาใช้งาน ก่อให้เกิดการพัฒนากรรมวิธีการผลิต การออกแบบ และการสร้างผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ขึ้นได้

      วัตถุดิบที่นำมาใช้ทำเครื่องเบญจรงค์ จะประกอบด้วย วัตถุดิบที่มีความเหนียว วัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียว และวัตถุดิบอื่นๆ มีดังนี้

วัตถุดิบที่มีความเหนียว วัตถุดิบประเภทนี้ได้แก่ดินชนิดต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่ที่เหมาะแก่การนำมาผลิตเครื่องปั้น และเครื่องเบญจรงค์ ได้แก่ ดินเกาลิน (Kaolin หรือ China Clay) ดินชนิดนี้บางแห่ง เรียกว่า ดินขาว เกิดจากจากการแปรสภาพของหินแกรนิตเป็นหินฟันม้า มีความบริสุทธิ์สูง เนื้อดินหยาบ สีขาวหม่น มีความเหนียวน้อย หดตัวน้อย ทนความร้อนได้สูง ระหว่าง 1,400-1,500 องศาเซลเซียส
ดินเหนียว (Ball clay) ดินชนิดนี้บางแห่งเรียกว่า ดินดำ เป็นดินที่เกิดจากการ ชะล้างดินเกาลินโดยธรรมชาติ มีแร่เหล็กปนอยู่ค่อนข้างสูง กับมีสารอินทรีย์ปนอยู่บ้าง เนื้อดินละเอียด สีคล้ำ มีความ เหนียว จุดหลอมละลายระหว่าง 1,300-1,400 องศาเซลเซียส เมื่อเผาสุกแล้วผลิตภัณฑ์จะมีสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นประเภทเนื้อดิน และเนื้อแกร่งหรือใช้ผสมกับดินเกาลินให้เนื้อดินแข็งและเหนียวขึ้น เพื่อใช้ทำเครื่องปั้นประเภทเครื่องกระเบื้อง

ขั้นตอนการผลิต

1. เตรียมภาชนะที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว

2. ทำความสะอาดภาชนะ

3. ติดโลโก้ของทางร้าน พร้อมเตรียมลาย

4. เขียนลายลงบนภาชนะ แล้วปล่อยทำไว้ให้ทองที่เขียนแห้ง

5. นำภาชนะที่เขียนแล้วมาลงสีตามลายที่เขียน

6. นำภาชนะที่ลงสีเสร็จแล้วมาเคลือบสีทอง

7. นำภาชนะเข้าเตาอบความร้อน อบที่ความร้อน 840 องศา ใช้เวลาการอบ 6 ชั่วโมง

8. พออบเสร็จแล้วปล่อยให้เตาอบเย็นก่อนที่แล้วจึงนาของออกมาตรวจสอบคุณภาพก่อนจำหน่าย

เทคนิคในการผลิต

         ทางกลุ่มได้คิดค้นสูตรในการผสมสีขึ้นมาเอง ซึ่งจะมีความเงางามเป็นพิเศษ ซึ่งมีสีที่ผสมมากกว่า ๕ สี สีที่ถูกเลือกจะนำมาลงโดยช่างชำนานงานชาย โดยภู่กันที่นำมาวาดจะมีขนาดไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป ข้อควรระวังในการลงสีนั้นจะต้องระวังไม่ให้สีล้นจากช่องสาย
หรือทับเส้นทองเด็ดขาด เป็นขั้นตอนที่ละเอียดมากๆ

 

benjarong_1_b benjarong_3_b 

benjarong_4_b benjarong_5_b